การประชุมเอเปค 2022

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นในประเทศไทย ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565 และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18–19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ

แนวคิดหลักของการประชุมครั้งนี้คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ประเทศไทยได้นำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือบีซีจี เป็นหัวข้อหลักในการประชุมและจัดทำข้อเสนอไปยังผู้นำเขตเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เริ่มด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ในวันที่ 14–16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปคในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยมีหัวข้อสำคัญคือการผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก หรือ FTAAP และแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี ช่วงค่ำวันเดียวกัน รัฐบาลไทยได้จัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรส ที่หอประชุมกองทัพเรือ ในงานเลี้ยงรับรอง ได้มีการจัดอาหารค่ำในแนวคิด “ภูมิปัญญาอาหารไทยอย่างยั่งยืน” โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วประเทศ

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานงานเลี้ยงรับรอง เนื่องในวันกองทัพเรือประจำปี 2565

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางมาเป็นประธานในงานเลี้ยงรับรอง เนื่องในวันกองทัพเรือประจำปี 2565 ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ โดยมีพลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือให้การต้อนรับ ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ ประกอบด้วย   ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย สำหรับความเป็นมาของ วันกองทัพเรือ สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียนนายเรืออย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังเดิม ธนบุรี กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียนนายเรือ ความว่า “วันที่ 20 พฤศจิกายน ร.ศ.125 เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือ

Read More »

เรือหลวงสุโขทัย อับปางกลางทะเล

วันที่ 18 ธันวาคม 2565 เรือหลวงสุโขทัย ประสบเหตุคลื่นลมแรงอับปางกลางทะเล จ.ประจวบคีรีขันธ์  ขณะเดินทางเพื่อร่วมพิธี 100 ปี การสิ้นพระชนม์ของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พื้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือหลวงสุโขทัยนั้น ตัวเรือมีอาการเอียงจากคลื่นลมแรง หลังเกิดคลื่นลมแรงและพัดน้ำเข้าเรือเป็นจำนวนมาก จนทำให้เครื่องไฟฟ้าดับและส่งผลให้เครื่องจักรใหญ่หยุดทำงาน เป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมเรือได้ และทำให้น้ำเข้าภายในตัวเรืออย่างรวดเร็วจนทำให้เรือเอียงมากขึ้นในเวลาต่อมา ก่อนจะอับปางกลางอ่าวไทย สำหรับ ร.ล.สุโขทัย เป็นเรือคอร์เวต สร้างโดย TACOMA BOATBUILDING COMPANY ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อเดิมคือ RTN 252 FT PSMM MK-16#446 เป็น 1 ใน 2 ลำของชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย ร.ล.รัตนโกสินทร์ หมายเลขเรือ 441 และ ร.ล.สุโขทัย หมายเลขเรือ 442 ทั้ง

Read More »

เรือด่วนเจ้าพระยาใหม่ ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น

     โดยเรือแบบใหม่นี้เป็นเรือแบบ Catamaran ท้องเรือจะโปร่ง วัสดุตัวเรือทำด้วยอะลูมิเนียม มีการออกแบบที่ก่อให้เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงาน มีความสะดวกสบายและทันสมัย มีความปลอดภัย มีระบบติดตามเรือ (GPS) และระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเบื้องต้น บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาจะสร้างเรือจำนวน 6 ลำ เพื่อให้บริการตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้า ถึงท่าเรือสาทร ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจำนวน 10 ท่าเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือมีระบบขนส่งเชื่อมต่อทางราง เช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ท่าเรือบางโพ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ท่าเรือราชินี (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) และท่าเรือสาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งระยะเวลาเรือโดยสารรูปแบบใหม่จะให้บริการเดินเรือตั้งแต่เวลา 06.30 – 19.00 น. จำนวน 44 เที่ยว/วัน ความถี่ในการเดินเรือประมาณ 20-30 นาที /เที่ยว ซึ่งสามารถประหยัดเวลาเดินทางจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง จากปกติใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในเส้นทางปกติภายในปี

Read More »