บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ร่วมพิธีเปิดปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างความปลอดภัยทางทะเล ในเขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

พิธีเปิดปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

วันศุกร์ ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2565 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จัดพิธีเปิดปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างความปลอดภัยทางทะเล ในเขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ณ บริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (MIT) ถนน ไอ-เจ็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยองมี รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แขกผู้มีเกียรติ คณะผู้บริหาร บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด และสื่อมวลชนร่วมงานภายในงานมีการแสดงการเก็บขยะ ล้อมบูมกักคราบน้ำมัน และฉีดน้ำดับเพลิง ด้วยเรือรักษ์นที ซึ่งเพิ่งสร้างขึ้นใหม่เป็น เรือเก็บขยะ ขจัดคราบน้ำมัน และดับเพลิง ขนาดความยาว 40 ฟุตพร้อมอุปกรณ์ โดย อู่ต่อเรือ บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ภายใต้โครงการปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างความปลอดภัยทางทะเล ในเขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และเพื่อใช้ในภารกิจด้านอื่นๆ ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเช่นการดับเพลิงได้อีกด้วย ซึ่งบริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด มีความชำนาญงานด้านนี้ ได้รับการว่าจ้างจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้เข้ามาบริหารจัดการเก็บขยะ ขจัดคราบน้ำมันและดับเพลิงสำหรับท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ด้วยบริการที่มีมาตรฐานความปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมภายในเขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

เรือรักษ์นทีเป็นเรืออเนกประสงค์ออกแบบให้มีการสับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ สามารถดับเพลิงได้ โดยใช้หัวฉีดน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา เรือเปิดหัวได้เพื่อใช้ในการจัดเก็บขยะ สามารถตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ และสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมภายในบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยได้รับความไว้วางใจจาก ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ปฏิบัติภารกิจเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) ร่วม โครงการจัดทำปะการังเทียมเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของนิเวศในทะเล

     วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ร่วมกิจกรรมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ประกาศเขตกองทุนพัฒนา ไฟฟ้าแบบมีส่วนร่วม โดย ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดระยอง เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ตัวแทนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และประธานชุมชน ร่วมวางปะการังเทียม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติให้ตัวอ่อนปะการังมายึดเกาะเจริญเติบโต พัฒนาเป็นแนวปะการังธรรมชาติในที่สุด และป้องกันการบุกรุกทำลาย จากการลักลอบทำการประมงในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ณ บริเวณอ่าวพยูน-พลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง      โครงการจัดทำปะการังเทียมเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของนิเวศในทะเลนี้ ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่ 1 ว่าจ้างและดำเนินการโดยบริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย)

Read More »

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B เสริมประสิทธิภาพการทำงานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B – มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล– เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง– สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน– มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด– สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More »

‘เรือหลวงหลีเป๊ะ’ หนุนภารกิจเรือรบช่วยเหลือภัยพิบัติชายฝั่ง

     เรือหลวงหลีเป๊ะ หมายเลข 858 เป็นเรือลากจูงที่ต่อขึ้น เพื่อทดแทนเรือเก่า โดยกองทัพเรือว่าจ้าง บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ดำเนินการต่อเรือลากจูงขนาดกลาง จำนวน 2 ลำ คือ เรือหลวงหลีเป๊ะ และเรือหลวงปันหยี ที่ได้มีการรับมอบไปก่อนหน้านี้ เพื่อสนองภารกิจ ในการสนับสนุนนำเรือรบขนาดใหญ่ เข้า-ออกจากท่าเทียบเรือ ตลอดจนสนับสนุนการดับเพลิงให้กับท่าเรือต่างๆ การขจัดคราบน้ำมัน การลากเป้าฝึกยิงอาวุธ และสนับสนุน ภารกิจเรือดำน้ำในอนาคต      สมรรถนะเรือได้มีการออกแบบโดย บริษัท Robert Allan Ltd.,Naval Architects and Marine Engineering ประเทศแคนาดา ตัวเรือมีความแข็งแรงทนทาน มีกำลังดึงไม่น้อยกว่า 53 เมตริกตัน และวงหันหมุนรอบตัวเอง 360 องศา ความยาวตลอดลำ 32 เมตร

Read More »