ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า จัดยิ่งใหญ่ปีที่ 13 พร้อมต้อนรับนักแล่นใบจากทั่วโลก

20 ชาติส่งเรือรบเต็มทะเล ฉลอง 50 ปีกองทัพเรือสิงคโปร์

     การแข่งขันเรือใบนานาชาติ ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า จัดยิ่งใหญ่เป็นปีที่ 13 พร้อมต้อนรับนักแล่นใบกว่า 700 คน เรือใบกว่า 250 ลำ จากกว่า 25 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขัน ณ โอเชี่ยน มารีน่า ยอช์ท คลับ จ.ชลบุรี ระหว่าง วันที่ 4-8 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากคุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ

     ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า พรีเซ็นท์เต็ด บาย โอเชี่ยน มารีน่า เป็นการแข่งขันเรือใบที่มีเรือหลากหลายประเภทเข้าร่วมแข่งขันมากที่สุดในเอเชีย โอเชี่ยน มารีน่า ยอช์ท คลับ เป็นท่าจอดเรือยอช์ทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีศักยภาพในการจัดงานแข่งขันเรือใบขนาดใหญ่ ได้มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดจนมีการจัดการแข่งขันที่ได้มาตรฐาน นอกจากนั้น ในส่วนของกรมศุลกากรได้มีการปรับกฎระเบียบอนุญาตให้เรือต่างชาติสามารถแวะพักน่านน้ำพัทยาได้นานขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลดีในอนาคตที่พัทยาจะได้ต้อนรับเรือจากนานาชาติมากขึ้นและดึงดูดเรือใบจากต่างประเทศมาร่วมแข่งขันรีกัตต้าในเมืองไทยได้มากขึ้น

     ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า เป็นการแข่งขันเรือใบที่มีชื่อเสียงในระดับเอเชีย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการล่องเรือใบเดินทางมาจากประเทศต่างๆ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก โดยตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา ได้ต้อนรับเรือใบรวมทั้งหมดกว่า 3,000 ลำ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวและการกีฬาในระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี และล่าสุดได้ได้รับการโหวตให้ เป็น “Asian Regatta of the Year” จาก Asian Marine & Boating Awards 2014 และได้รับรางวัล Silver ประเภทกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมของไทย จาก SPIA 2016

การแข่งขันเรือใบท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า มีการแข่งขันทั้งหมด 12 ประเภท อาทิ IRC เรซซิ่ง, IRC ครูซซิ่ง, เรือปลาทู (ชิงถ้วยพระราชทาน ปลาทู โคโรเนชั่น), โอเชี่ยน มัลติฮัลล์, เรือใบเดี่ยว, เรือใบคู่, เรืออ็อฟติมิสต์ (ชิงถ้วยรางวัล อ็อฟติมิสต์ชิงแชมป์ประเทศไทย) และ ไอโอเอม คลาส เรดิโอ คอนโทรล ยอช์ท (เรือใบบังคับวิทยุ) ซึ่งปีนี้

ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า นับเป็นแม็ทช์สำคัญของนักกีฬาเรือใบทีมชาติชุดซีเกมส์ที่จะต้องขับเคี่ยวกับคู่ต่อสู้สำคัญก่อนที่จะเตรียมฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นสำหรับการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 29 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียในเดือนสิงหาคมนี้

สำหรับเรือใบขนาดใหญ่อย่างคีลโบ๊ท และมัลติฮัลล์ที่เข้าแข่งขันในปีนี้มีทั้งทีมเรือชั้นนำจากไทย และเอเชียเข้าร่วมแข่งขันอย่างคึกคัก การแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน ปลาทู โคโรเนชั่น มีเรือกว่า 15 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน อาทิ อังกฤษ ญี่ปุ่น รัสเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ส่วนการแข่งขันเรือดิงกี้ ไฮไลท์ประกอบด้วยเรือเลเซอร์ สแตนดาร์ด, เลเซอร์ เรเดียล, เลเซอร์ 4.7 และเรือใบคู่ ประเภท 420s และ 470s ซึ่งทางตัวเก็งที่น่าจับตามองคือ มาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย สำหรับการชิงถ้วยรางวัลอ็อฟติมิสต์ ชิงแชมป์ประเทศไทย คาดมีเรือใบมากกว่า 100 ลำเข้าร่วมการแข่งขันทั้งนี้จะเป็นแม็ทช์ใหญ่ก่อนตัวเก็งอย่างนักแล่นใบเยาวชนไทยจะลงแข่งขันเรือใบอ็อฟติมิสต์เวิลด์ในเดือนกรกฎาคมนี้

ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า พรีเซ็นท์เต็ด บาย โอเชี่ยน มารีน่าโดยได้รับการสนับสนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, เมืองพัทยา, สโมสรเรือใบราชวรุณ และกองทัพเรือไทย

Top of the Gulf Regatta 2017

ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบรางวัลเกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัย ของกองทัพเรือ ประจำปี 2563

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานการมอบรางวัลในพิธียกย่องเกียรติคุณ นักวิจัยของกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน สำหรับรางวัลเกียรติคุณมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจ รวมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของกองทัพเรือ ผู้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและกองทัพ ทำให้หน่วยสามารถดำรงสภาพยุทโธปกรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วย และช่วยลดงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ ทำให้กองทัพเรือสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งในพิธีได้จัดให้มีการมอบโล่ ใบประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลให้กับนายทหารโครงการและหัวหน้านักประดิษฐ์ โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้ 1.ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร รางวัลดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ผลงานโครงการวิจัยและพัฒนา ระบบแสดงแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Chart System) มี นาวาเอก ฤทธิ์เดช เกตุทอง เป็นนายทหารโครงการ 2. ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ รางวัลชมเชย จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ เครื่องทดสอบการกัดกร่อนร่วมกับความล้า

Read More »

ผู้บัญชาการทหารเรือ เปิดตัวเรือข้ามฟากระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า
พร้อมออกทดลองแล่นรับ/ส่งผู้โดยสาร ในแม่น้ำเจ้าพระยา

วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีเปิดตัวเรือแตงโมพลังงานไฟฟ้า (ขส.ทร. 1110) ซึ่งเป็นเรือข้ามฟาก ในแม่น้ำเจ้าพระยาของกองทัพเรือ ที่มีอายุการใช้งานมานานถึง 50 ปี ณ ท่าเรือราชนาวิกสภา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยมี พลเรือโท ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือสายงานกิจการพลเรือน และ พลเรือตรี สาธิต นาคสังข์ เจ้ากรมการขนส่งทหารเรือ ให้การต้อนรับ และเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือชมนิทรรศการการดำเนินโครงการ พร้อมทำพิธีเปิดตัวเรือแตงโมไฟฟ้า จากนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ลงเรือแตงโมไฟฟ้า เพื่อทดลองนั่งไปยัง ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และกลับมาที่อาคารราชนาวิกสภา  วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีเปิดตัวเรือแตงโมพลังงานไฟฟ้า (ขส.ทร. 1110)

Read More »
Port In – Port Out PIPO

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)      พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO) ให้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ทั้ง 3 เขต รวมถึงหัวหน้าศูนย์ PIPO ในทุกพื้นที่ ณ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร      สำหรับนโยบายที่มอบให้แก่ศูนย์ PIPO ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ศูนย์ PIPO ที่ประกอบด้วยหน่วยงาน กรมประมง

Read More »