พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่2

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

     ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ

คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

  • ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร
  • กินน้ำลึก 3.70 เมตร
  • ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน
  • ความเร็วสูงสุด 23 นอต
  • รัศมีทำการที่ความเร็ว 15 นอต ได้ถึงระยะ 3,500 ไมล์ทะเล
  • อาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ และปืนขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น ฮาร์พูน จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อ ยิงโดยเรือสามารถปฏิบัติการในทะเลเปิด ต่อเนื่องได้อย่างน้อย 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงและสามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะทะเลระดับ SEA STATE 5
Port In – Port Out PIPO

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)      พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO) ให้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ทั้ง 3 เขต รวมถึงหัวหน้าศูนย์ PIPO ในทุกพื้นที่ ณ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร      สำหรับนโยบายที่มอบให้แก่ศูนย์ PIPO ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ศูนย์ PIPO ที่ประกอบด้วยหน่วยงาน กรมประมง

Read More »

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ จัดงาน “นาวีวิจัย 2019 สร้างนวัตกรรม นำสู่สายการผลิต” (INNOVATION AND BEYOND)

     เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานเปิดงาน “นาวีวิจัย 2019 สร้างนวัตกรรม นำสู่สายการผลิต” ณ ห้องประชุมบริพัตร ณ อาคารสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมี พลเรือตรี วรพล ทองปรีชา ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ      สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือจัดให้มีงานนาวีวิจัยเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณนักวิจัยของกองทัพเรือ เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ นำไปสู่สายการผลิตเพื่อเป็น การพึ่งพาตนเองและเป็นการต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อกองทัพเรือและประเทศชาติต่อไป การจัดงาน “นาวีวิจัย 2019 สร้างนวัตกรรม นำสู่สายการผลิต” ภายในงานได้มีพิธีมอบรางวัลเกียรติยศนาวี และการประกาศยกย่อง เกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นของกองทัพเรือ โดยในปีนี้

Read More »

กองทัพเรือจัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 127

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสดุดีวีรชนในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณลานหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ตรงกับปีพุทธศักราช 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในช่วงนั้นชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชีย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือการแสวงหาอาณานิคม ประเทศต่าง ๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สำหรับประเทศไทย ได้ถูกชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสเข้ามารุกราน โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือเรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ และได้เกิดการปะทะกับฝ่ายไทย ทั้งหมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า

Read More »