สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ จัดงาน “นาวีวิจัย 2019 สร้างนวัตกรรม นำสู่สายการผลิต” (INNOVATION AND BEYOND)

     เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานเปิดงาน “นาวีวิจัย 2019 สร้างนวัตกรรม นำสู่สายการผลิต” ณ ห้องประชุมบริพัตร ณ อาคารสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมี พลเรือตรี วรพล ทองปรีชา ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ

     สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือจัดให้มีงานนาวีวิจัยเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณนักวิจัยของกองทัพเรือ เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ นำไปสู่สายการผลิตเพื่อเป็น การพึ่งพาตนเองและเป็นการต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อกองทัพเรือและประเทศชาติต่อไป การจัดงาน “นาวีวิจัย 2019 สร้างนวัตกรรม นำสู่สายการผลิต” ภายในงานได้มีพิธีมอบรางวัลเกียรติยศนาวี และการประกาศยกย่อง เกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นของกองทัพเรือ โดยในปีนี้ ในส่วนของการมอบรางวัลเกียรติยศนาวี ให้บุคคลดีเด่นของกองทัพเรือ ประจำปี 2562

     ภายในงานได้จัดให้มีกิจกรรมที่สำคัญ คือการสาธิตผลงานวิจัยสนับสนุนการตรวจค้นวัตถุต้องสงสัย การจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยของกองทัพเรือ พร้อมทั้งของภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ องค์การมหาชน และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมแพทย์ทหารบก โดยในส่วนของการจัดแสดงผลงานวิจัยมีผลงานที่น่าสนใจเช่น การสร้างตะเกียงระบบเลนส์หมุนพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้กับประภาคารกระโจมไฟของกรมอุทกศาสตร์ ทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน ระบบควบคุมบังคับบัญชาแบบพกพา ระบบแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องฝึกจำลองยุทธ์ NWS การผลิตลูกปืน 30X173มิลลิเมตร ชนิดฝึกและผลงานวิจัยอากาศยานไร้นักบินเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลในแบบต่าง ๆ ที่สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือได้สร้างและนำไปสู่การใช้งาน ตามแนวคิดในการจัดงานคือ “นาวีวิจัย 2019 สร้างนวัตกรรมนำสู่สายการผลิต” (INNOVATION AND BEYOND)

กองทัพเรือจัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 127

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสดุดีวีรชนในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณลานหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ตรงกับปีพุทธศักราช 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในช่วงนั้นชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชีย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือการแสวงหาอาณานิคม ประเทศต่าง ๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สำหรับประเทศไทย ได้ถูกชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสเข้ามารุกราน โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือเรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ และได้เกิดการปะทะกับฝ่ายไทย ทั้งหมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า

Read More »

การประชุมเอเปค 2022

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นในประเทศไทย ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565 และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18–19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ แนวคิดหลักของการประชุมครั้งนี้คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ประเทศไทยได้นำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือบีซีจี เป็นหัวข้อหลักในการประชุมและจัดทำข้อเสนอไปยังผู้นำเขตเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เริ่มด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ในวันที่ 14–16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปคในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยมีหัวข้อสำคัญคือการผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก หรือ FTAAP และแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี ช่วงค่ำวันเดียวกัน รัฐบาลไทยได้จัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรส ที่หอประชุมกองทัพเรือ ในงานเลี้ยงรับรอง ได้มีการจัดอาหารค่ำในแนวคิด “ภูมิปัญญาอาหารไทยอย่างยั่งยืน” โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วประเทศ

Read More »

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ด้วยการ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B ที่มีสมรรถนะสูงในการตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B มีรัศมีปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้ จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากและประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น

Read More »