อธิบดีกรมเจ้าท่า จับมือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หารือการพัฒนาท่าเรือพระราม 5 และท่าเรือพระราม 7

วันที่ 17 มิถุนายน 2563 นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า นำคณะผู้บริหารกรมเจ้าท่า หารือร่วมกับคณะผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประเด็นเกี่ยวกับ ท่าจอดเรือไฟฟ้าและการศึกษาวิจัยพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ (ท่าเรือพระราม 7 และท่าเรือพระราม 5) มีการจัดทำ MOU ความร่วมมือด้านวิชาการและพัฒนานวัตกรรม ระหว่างกรมเจ้าท่าและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า กรมเจ้าท่ามีแนวคิดการปรับปรุงท่าเรือพระราม 5 เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และการขนส่งมวลชนกรุงเทพ สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้ในหลายเส้นทาง มีพื้นที่ใช้สอยบริเวณท่าเรือ 167 ตารางเมตร และมีอัตลักษณ์รูปแบบทรงกระเบื้องว่าว มีความสวยงาม สื่อถึงสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยระยะเวลาปรับปรุงท่าเรือ 4 เดือน งบประมาณ 4 ล้านบาท และการปรับปรุงท่าเรือสะพานพระราม 7 โดยรูปแบบท่าเรือออกแบบให้สื่อถึงความเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ EGAT ให้เป็นมากกว่าท่าเรือ สามารถใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ และรองรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู แผนการดำเนินการปรับปรุงเป็นระยะเวลา 5 เดือน คาดแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม งบประมาณ 15 ล้านบาท

ทั้งนี้ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติมถึงความร่วมมือในการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือร่วมกันทั้ง 2 ท่า ดังกล่าว ได้ออกแบบในรูปแบบท่าเรือ Smart Pier สวยงามและทันสมัย สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ ตัวอาคารออกแบบตามแนวคิดการประหยัดพลังงาน มีสิ่งอํานวยความสะดวกในการเดินทาง อาทิ ป้ายแนะนําเส้นทางการเชื่อมต่อรถโดยสาร ขสมก. ทางลาดคนพิการ และห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัย แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในการเดินทางทางน้ำ เป็นการยกระดับท่าเรือให้ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงการขนส่งทุกประเภทให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของความร่วมมือร่วมกันในการพัฒนาเรือไฟฟ้าและท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) เพื่อยกระดับพัฒนาการขนส่งทางน้ำ เป็นการใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบการเดินทางทางน้ำ ในวิถีใหม่ สไตล์ New Normal

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B เสริมประสิทธิภาพการทำงานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B – มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล– เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง– สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน– มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด– สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More »

ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า จัดยิ่งใหญ่ปีที่ 13 พร้อมต้อนรับนักแล่นใบจากทั่วโลก

20 ชาติส่งเรือรบเต็มทะเล ฉลอง 50 ปีกองทัพเรือสิงคโปร์      การแข่งขันเรือใบนานาชาติ ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า จัดยิ่งใหญ่เป็นปีที่ 13 พร้อมต้อนรับนักแล่นใบกว่า 700 คน เรือใบกว่า 250 ลำ จากกว่า 25 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขัน ณ โอเชี่ยน มารีน่า ยอช์ท คลับ จ.ชลบุรี ระหว่าง วันที่ 4-8 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากคุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ      ท็อป ออฟ เดอะ กัฟ รีกัตต้า พรีเซ็นท์เต็ด บาย

Read More »

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ด้วยการ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B ที่มีสมรรถนะสูงในการตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B มีรัศมีปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้ จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากและประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น

Read More »