‘เรือหลวงหลีเป๊ะ’ หนุนภารกิจเรือรบช่วยเหลือภัยพิบัติชายฝั่ง

     เรือหลวงหลีเป๊ะ หมายเลข 858 เป็นเรือลากจูงที่ต่อขึ้น เพื่อทดแทนเรือเก่า โดยกองทัพเรือว่าจ้าง บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ดำเนินการต่อเรือลากจูงขนาดกลาง จำนวน 2 ลำ คือ เรือหลวงหลีเป๊ะ และเรือหลวงปันหยี ที่ได้มีการรับมอบไปก่อนหน้านี้ เพื่อสนองภารกิจ ในการสนับสนุนนำเรือรบขนาดใหญ่ เข้า-ออกจากท่าเทียบเรือ ตลอดจนสนับสนุนการดับเพลิงให้กับท่าเรือต่างๆ การขจัดคราบน้ำมัน การลากเป้าฝึกยิงอาวุธ และสนับสนุน ภารกิจเรือดำน้ำในอนาคต

     สมรรถนะเรือได้มีการออกแบบโดย บริษัท Robert Allan Ltd.,Naval Architects and Marine Engineering ประเทศแคนาดา ตัวเรือมีความแข็งแรงทนทาน มีกำลังดึงไม่น้อยกว่า 53 เมตริกตัน และวงหันหมุนรอบตัวเอง 360 องศา ความยาวตลอดลำ 32 เมตร กว้าง 12.40 เมตร กินน้ำลึกสุด 4.59 เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 12 นอต ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล และมีกำลังพลประจำเรือ รวม 20 นาย ประกอบด้วย นายทหาร 3 นาย พันจ่า 3 นาย จ่า 10 นาย พลทหาร 4 นาย โดยมี เรือเอก ชาญชัย อยู่เจริญ เป็นผู้บังคับการเรือ โดยกองทัพเรือได้มีพิธีรับมอบเรือหลวงหลีเป๊ะไปแล้ว เมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จังหวัดชลบุรี

พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอเนกประสงค์พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ (แห่งใหม่)

     พลเรือเอก นวพล ดำรงพงศ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอเนกประสงค์พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ (แห่งใหม่) ณ บริเวณพื้นที่โรงจอดรถกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร      พิพิธภัณฑ์ของกองทัพเรือได้เริ่มมีขึ้น เมื่อ พ.ศ.2485 ซึ่งเริ่มแรกเป็นเพียงขั้นตอนรวบรวมวัตถุพิพิธภัณฑ์ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี จากที่ต่างๆ ในกองทัพเรือ นำมาสงวนรักษาไว้ ที่อาคารราชนาวิกสภาชั้นล่าง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ ต่อมาในปี พ.ศ.2501 ได้ย้ายพิพิธภัณฑ์ทหารเรือไปอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จนกระทั่ง พ.ศ.2515 ได้ย้ายพิพิธภัณฑ์ทหารเรือไปอยู่ที่ ตำบลปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากการจัดแสดงนิทรรศการมีสภาพเก่าและอยู่ไกลจากกองบัญชาการกองทัพเรือ ประกอบกับมีโครงการย้ายกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ไปยังพื้นที่บางนา โดยพื้นที่กองเรือลำน้ำเดิมมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กองทัพเรือจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ และได้ทำโครงการย้ายพิพิธภัณฑ์ทหารเรือมายังพื้นที่พระนิเวศน์ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง อาคารอเนกประสงค์พิพิธภัณฑ์ทหารเรือแห่งใหม่นี้ เป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ สามารถจัดแสดงนิทรรศการ จัดการประชุม และจัดกิจกรรมอื่นๆ ได้ทำให้พิพิธภัณฑ์ทหารเรือแห่งใหม่นี้มีความสมบูรณ์เป็นแหล่งการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

Read More »

เรือหลวงสุโขทัย อับปางกลางทะเล

วันที่ 18 ธันวาคม 2565 เรือหลวงสุโขทัย ประสบเหตุคลื่นลมแรงอับปางกลางทะเล จ.ประจวบคีรีขันธ์  ขณะเดินทางเพื่อร่วมพิธี 100 ปี การสิ้นพระชนม์ของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พื้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือหลวงสุโขทัยนั้น ตัวเรือมีอาการเอียงจากคลื่นลมแรง หลังเกิดคลื่นลมแรงและพัดน้ำเข้าเรือเป็นจำนวนมาก จนทำให้เครื่องไฟฟ้าดับและส่งผลให้เครื่องจักรใหญ่หยุดทำงาน เป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมเรือได้ และทำให้น้ำเข้าภายในตัวเรืออย่างรวดเร็วจนทำให้เรือเอียงมากขึ้นในเวลาต่อมา ก่อนจะอับปางกลางอ่าวไทย สำหรับ ร.ล.สุโขทัย เป็นเรือคอร์เวต สร้างโดย TACOMA BOATBUILDING COMPANY ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อเดิมคือ RTN 252 FT PSMM MK-16#446 เป็น 1 ใน 2 ลำของชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย ร.ล.รัตนโกสินทร์ หมายเลขเรือ 441 และ ร.ล.สุโขทัย หมายเลขเรือ 442 ทั้ง

Read More »

เรือด่วนเจ้าพระยาโฉมใหม่ปรับอากาศ 2 ชั้น พร้อมวิ่งบริการ 1 เม.ย. 63

     วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ร่วมกิจกรรมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ประกาศเขตกองทุนพัฒนา ไฟฟ้าแบบมีส่วนร่วม โดย ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดระยอง เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ตัวแทนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และประธานชุมชน ร่วมวางปะการังเทียม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติให้ตัวอ่อนปะการังมายึดเกาะเจริญเติบโต พัฒนาเป็นแนวปะการังธรรมชาติในที่สุด และป้องกันการบุกรุกทำลาย จากการลักลอบทำการประมงในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ณ บริเวณอ่าวพยูน-พลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง      นอกจากนี้ ในระหว่างการล่องเรือทัศนศึกษาทางน้ำ ทางบริษัทฯ ยังจัดผู้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่สำคัญและเรื่องน่ารู้ต่างๆ ที่อยู่สองฟากฝั่งตามเส้นทางที่เรือแล่นผ่านไป ช่วยให้ได้รับทั้งสาระและความเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กัน

Read More »