วันที่ 10 มิถุนายน 2563 พลเรือโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นิรุทธ์ หงส์ประสิทธิ์ คณบดี คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย คุณณัฐพร มิ่งศิริธรรม ผู้บริหาร โรงเรียนสยามการเดินเรือ ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อสร้างความร่วมมือในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์นาวีและโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงานและสากล ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมี นาวาเอก สมชาติ ไกรลาสสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ และ นาวาเอก สุรศักดิ์ ปานเกษม ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายฝึกอบรม โรงเรียนสยามการเดินเรือ เข้าร่วมเป็นสัขขีพยาน
Day: 31 July 2020
อธิบดีกรมเจ้าท่า จับมือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หารือการพัฒนาท่าเรือพระราม 5 และท่าเรือพระราม 7
วันที่ 17 มิถุนายน 2563 นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า นำคณะผู้บริหารกรมเจ้าท่า หารือร่วมกับคณะผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประเด็นเกี่ยวกับ ท่าจอดเรือไฟฟ้าและการศึกษาวิจัยพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ (ท่าเรือพระราม 7 และท่าเรือพระราม 5) มีการจัดทำ MOU ความร่วมมือด้านวิชาการและพัฒนานวัตกรรม ระหว่างกรมเจ้าท่าและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า กรมเจ้าท่ามีแนวคิดการปรับปรุงท่าเรือพระราม 5 เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และการขนส่งมวลชนกรุงเทพ สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้ในหลายเส้นทาง มีพื้นที่ใช้สอยบริเวณท่าเรือ 167 ตารางเมตร และมีอัตลักษณ์รูปแบบทรงกระเบื้องว่าว มีความสวยงาม สื่อถึงสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยระยะเวลาปรับปรุงท่าเรือ 4 เดือน งบประมาณ 4 ล้านบาท และการปรับปรุงท่าเรือสะพานพระราม 7 โดยรูปแบบท่าเรือออกแบบให้สื่อถึงความเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ EGAT ให้เป็นมากกว่าท่าเรือ สามารถใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ และรองรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู แผนการดำเนินการปรับปรุงเป็นระยะเวลา 5 เดือน คาดแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม งบประมาณ 15 ล้านบาท
ทั้งนี้ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติมถึงความร่วมมือในการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือร่วมกันทั้ง 2 ท่า ดังกล่าว ได้ออกแบบในรูปแบบท่าเรือ Smart Pier สวยงามและทันสมัย สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ ตัวอาคารออกแบบตามแนวคิดการประหยัดพลังงาน มีสิ่งอํานวยความสะดวกในการเดินทาง อาทิ ป้ายแนะนําเส้นทางการเชื่อมต่อรถโดยสาร ขสมก. ทางลาดคนพิการ และห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัย แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในการเดินทางทางน้ำ เป็นการยกระดับท่าเรือให้ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงการขนส่งทุกประเภทให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของความร่วมมือร่วมกันในการพัฒนาเรือไฟฟ้าและท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) เพื่อยกระดับพัฒนาการขนส่งทางน้ำ เป็นการใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบการเดินทางทางน้ำ ในวิถีใหม่ สไตล์ New Normal
ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบรางวัลเกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัย ของกองทัพเรือ ประจำปี 2563
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานการมอบรางวัลในพิธียกย่องเกียรติคุณ นักวิจัยของกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน
สำหรับรางวัลเกียรติคุณมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจ รวมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของกองทัพเรือ ผู้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและกองทัพ ทำให้หน่วยสามารถดำรงสภาพยุทโธปกรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วย และช่วยลดงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ ทำให้กองทัพเรือสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งในพิธีได้จัดให้มีการมอบโล่ ใบประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลให้กับนายทหารโครงการและหัวหน้านักประดิษฐ์ โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้
1.ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร รางวัลดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่
- ผลงานโครงการวิจัยและพัฒนา ระบบแสดงแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Chart System) มี นาวาเอก ฤทธิ์เดช เกตุทอง เป็นนายทหารโครงการ
2. ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ รางวัลชมเชย จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่
- เครื่องทดสอบการกัดกร่อนร่วมกับความล้า (Corrosion Fatigue Machine) มี นาวาเอก เสวียง เถื่อนบุญ เป็นหัวหน้านักประดิษฐ์
- นวัตกรรม เพื่อการดูแลผู้ป่วยหลังทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจ ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ (Navy Wrist Support) มี นาวาโทหญิง สุปราณี พลธนะ เป็นหัวหน้านักประดิษฐ์
- บอร์ดวิเคราะห์เสียงใต้น้ำที่ทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ มี นาวาเอก อนุสรณ์ ยังคุ้มญาติ เป็นหัวหน้านักประดิษฐ์
3. ผลงานด้านหลักการ รางวัลชมเชย 1 ผลงาน ได้แก่
- ผลงานบูรณาการ ระบบงานกรมช่างโยธาทหารเรือ ด้วยสารสนเทศ มี นาวาเอก พรชัย จ้อยจำรูญ เป็นหัวหน้าผู้สร้างผลงาน
ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ด้วยการ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B ที่มีสมรรถนะสูงในการตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน
ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B
- มีรัศมีปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล
- เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง
- สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน
- มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด
- สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน
การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้ จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากและประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น