ทช. จับมือผู้ว่าประจวบฯ ดูแลระบบนิเวศทางทะเล กรณีปลาฉลามที่เขาเต่า

ปลาฉลามที่เขาเต่า

ทช. จับมือผู้ว่าประจวบฯ ดูแลระบบนิเวศทางทะเล กรณีปลาฉลามที่เขาเต่า

นายโสภณ ทองดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ลงพื้นที่ตรวจสอบและประชุมกำหนดมาตรการและเกิดเหตุ ร่วมกับผู้ว่าราชการ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายกเทศมนตรีหัวหิน หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจในพื้นที่ กรณีฉลามกัดนักท่องเที่ยวที่หาดเขาเต่า ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองหัวหิน ที่ประชุมมีมติให้ร่วมกันปฎิบัติ คือ

  1. ให้เทศบาลเมืองหัวหิน อ.หัวหิน ติดตั้งป้ายประกาศ ๓ ภาษา (ไทย อังกฤษและจีน) เตือนนักท่องเที่ยว และขอความร่วมมือโรงแรมและผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์ถึงบริเวณพื้นที่ชายฝั่งที่ปลาฉลามหัวบาตรเข้ามาหากินโดยทั่วกัน
  2. กรม ทช. เสนอรูปแบบการติดตั้งตาข่าย พร้อมทุ่นแนวเขตการเล่นน้ำ โดยให้เทศบาลเมืองหัวหิน เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการและค่าใช้จ่าย และให้จัดทำโครงการมาตรการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว เพื่อไม่รบกวนระบบนิเวศทางทะเลของสัตว์ทะเล
  3. ให้อำเภอและเทศบาล ติดประกาศห้ามลงเล่นน้ำทะเลบริเวณหาดทรายน้อย บ้านเขาเต่า อ.หัวหิน เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะติดตั้งตาข่าย พร้อมทุ่นแนวเขตเล่นน้ำทะเลจะแล้วเสร็จ
  4. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะออกคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชนที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรกู้ภัยทางทะเลฯ ให้จัดตั้งชุดปฎิบัติการเฝ้าระวังการเผชิญเหตุอุบัติภัยทางทะเลและอำนวยความสะดวกพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว จนกว่าจะติดตั้งตาข่ายพร้อมทุ่นแนวเขตแล้วเสร็จ โดย กรม ทช. จะจัดเจ้าหน้าที่พร้อมเรือมาสนับสนุน
  5. กรม ทช. จะได้จัดส่งทีมนักวิชาการ มาศึกษาจำนวน ชนิด ขนาด และพฤติกรรมในการดำรงชีพของฝูงปลาฉลามหัวบาตรกลุ่มนี้ เพื่อจะได้นำผลการศึกษาไปจัดทำแผนงาน ในการดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวที่ไม่กระทบกับระบบนิเวศของสัตว์ทะเลในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป
  6. ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการโรงแรมธุรกิจการท่องเที่ยว และร้านค้าร้านอาหาร ให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ ให้ทราบถึงข้อควรระวัง และการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

เรือด่วนเจ้าพระยาโฉมใหม่ปรับอากาศ 2 ชั้น พร้อมวิ่งบริการ 1 เม.ย. 63

     วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ร่วมกิจกรรมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ประกาศเขตกองทุนพัฒนา ไฟฟ้าแบบมีส่วนร่วม โดย ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดระยอง เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ตัวแทนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และประธานชุมชน ร่วมวางปะการังเทียม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติให้ตัวอ่อนปะการังมายึดเกาะเจริญเติบโต พัฒนาเป็นแนวปะการังธรรมชาติในที่สุด และป้องกันการบุกรุกทำลาย จากการลักลอบทำการประมงในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ณ บริเวณอ่าวพยูน-พลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง      นอกจากนี้ ในระหว่างการล่องเรือทัศนศึกษาทางน้ำ ทางบริษัทฯ ยังจัดผู้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่สำคัญและเรื่องน่ารู้ต่างๆ ที่อยู่สองฟากฝั่งตามเส้นทางที่เรือแล่นผ่านไป ช่วยให้ได้รับทั้งสาระและความเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กัน

Read More »

กองทัพเรือจัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 127

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสดุดีวีรชนในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณลานหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ตรงกับปีพุทธศักราช 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในช่วงนั้นชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชีย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือการแสวงหาอาณานิคม ประเทศต่าง ๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สำหรับประเทศไทย ได้ถูกชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสเข้ามารุกราน โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือเรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ และได้เกิดการปะทะกับฝ่ายไทย ทั้งหมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า

Read More »

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ด้วยการ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B ที่มีสมรรถนะสูงในการตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B มีรัศมีปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้ จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากและประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น

Read More »