กองทัพเรือจัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 127

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสดุดีวีรชนในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณลานหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

สำหรับ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ตรงกับปีพุทธศักราช 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในช่วงนั้นชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชีย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือการแสวงหาอาณานิคม ประเทศต่าง ๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สำหรับประเทศไทย ได้ถูกชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสเข้ามารุกราน

โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือเรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ และได้เกิดการปะทะกับฝ่ายไทย ทั้งหมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และเรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือป้อมพระจุลจอมเกล้า จำนวน 9 ลำ ผลปรากฏว่า เรือแองคองสตังต์ และเรือโคแมต ที่ได้รับความเสียหายบางส่วน สามารถตีฝ่าแนวป้องกันที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และเทียบท่าอยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส โดยมีทหารประจำเรือเสียชีวิตรวม 3 นาย และเรือนำร่องถูกยิงเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง ส่วนฝ่ายไทยเรือที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืนใหญ่จากฝ่ายตรงข้าม จำนวน 4 ลำ

ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวไทยกับฝรั่งเศสก็ได้ยุติการสู้รบกันเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเป็นเหตุให้ไทยเราต้องเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการดำรงไว้ซึ่งเอกราช ประกอบด้วยดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประเทศลาวปัจจุบัน ในพื้นที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ และอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ตะวันออก ตลอดจนบรรดาเกาะแก่งต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง คิดเป็นพื้นที่ 143,000 ตารางกิโลเมตร

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังความโทมนัสและเสียพระราชหฤทัยแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณา เห็นว่าการว่าจ้างชาวต่างประเทศเป็นผู้บังคับการเรือ และป้อมนั้นไม่เป็นหลักประกันพอที่จะรักษาประเทศได้ สมควรที่จะต้องบำรุงกำลังทหารเรือไว้ป้องกันภัยด้านทะเล และต้องใช้คนไทยทำหน้าที่แทน ชาวต่างประเทศทั้งหมด และการที่จะให้คนไทยทำหน้าที่แทนชาวต่างประเทศได้นั้นต้องมีการศึกษาฝึกหัดเป็นอย่างดีจึงจะใช้การได้ จึงทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ออกไปศึกษาวิชาการทั้งในด้านการปกครอง การทหารบก การทหารเรือ และอื่น ๆ ในทวีปยุโรป รวมทั้งได้ทำการฝึกนายทหารเรือไทย เพื่อปฏิบัติงานแทนชาวต่างประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้กิจการทหารเรือมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศตราบจนปัจจุบัน

เรือด่วนเจ้าพระยาใหม่ ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น

     โดยเรือแบบใหม่นี้เป็นเรือแบบ Catamaran ท้องเรือจะโปร่ง วัสดุตัวเรือทำด้วยอะลูมิเนียม มีการออกแบบที่ก่อให้เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงาน มีความสะดวกสบายและทันสมัย มีความปลอดภัย มีระบบติดตามเรือ (GPS) และระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเบื้องต้น บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาจะสร้างเรือจำนวน 6 ลำ เพื่อให้บริการตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้า ถึงท่าเรือสาทร ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจำนวน 10 ท่าเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือมีระบบขนส่งเชื่อมต่อทางราง เช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ท่าเรือบางโพ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ท่าเรือราชินี (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) และท่าเรือสาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งระยะเวลาเรือโดยสารรูปแบบใหม่จะให้บริการเดินเรือตั้งแต่เวลา 06.30 – 19.00 น. จำนวน 44 เที่ยว/วัน ความถี่ในการเดินเรือประมาณ 20-30 นาที /เที่ยว ซึ่งสามารถประหยัดเวลาเดินทางจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง จากปกติใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในเส้นทางปกติภายในปี

Read More »

การแข่งขันเรือใบนานาชาติ “Top of The Gulf Regatta” เตรียมจัดยิ่งใหญ่ปีที่ 15 


     เตรียมพบกับสุดยอดการแข่งขันเรือใบนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย Top of the Gulf Regatta 2019 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 15 พร้อมต้อนรับนักแล่นใบจากทั่วโลก Top of the Gulf Regatta เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในฐานะเป็นการแข่งขันเรือใบที่มีเรือเข้าร่วมการแข่งขันอย่างหลากหลายประเภท แต่ละปีจะมีเรือเข้าร่วมชิงชัยเป็นจำนวนมาก โดยการแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ โอเชี่ยน มารีน่า ยอช์ท คลับ พัทยา จ.ชลบุรี

Read More »

พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอเนกประสงค์พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ (แห่งใหม่)

     พลเรือเอก นวพล ดำรงพงศ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอเนกประสงค์พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ (แห่งใหม่) ณ บริเวณพื้นที่โรงจอดรถกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร      พิพิธภัณฑ์ของกองทัพเรือได้เริ่มมีขึ้น เมื่อ พ.ศ.2485 ซึ่งเริ่มแรกเป็นเพียงขั้นตอนรวบรวมวัตถุพิพิธภัณฑ์ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี จากที่ต่างๆ ในกองทัพเรือ นำมาสงวนรักษาไว้ ที่อาคารราชนาวิกสภาชั้นล่าง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ ต่อมาในปี พ.ศ.2501 ได้ย้ายพิพิธภัณฑ์ทหารเรือไปอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จนกระทั่ง พ.ศ.2515 ได้ย้ายพิพิธภัณฑ์ทหารเรือไปอยู่ที่ ตำบลปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากการจัดแสดงนิทรรศการมีสภาพเก่าและอยู่ไกลจากกองบัญชาการกองทัพเรือ ประกอบกับมีโครงการย้ายกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ไปยังพื้นที่บางนา โดยพื้นที่กองเรือลำน้ำเดิมมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กองทัพเรือจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ และได้ทำโครงการย้ายพิพิธภัณฑ์ทหารเรือมายังพื้นที่พระนิเวศน์ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง อาคารอเนกประสงค์พิพิธภัณฑ์ทหารเรือแห่งใหม่นี้ เป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ สามารถจัดแสดงนิทรรศการ จัดการประชุม และจัดกิจกรรมอื่นๆ ได้ทำให้พิพิธภัณฑ์ทหารเรือแห่งใหม่นี้มีความสมบูรณ์เป็นแหล่งการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

Read More »