ทช. จับมือผู้ว่าประจวบฯ ดูแลระบบนิเวศทางทะเล กรณีปลาฉลามที่เขาเต่า

ปลาฉลามที่เขาเต่า

ทช. จับมือผู้ว่าประจวบฯ ดูแลระบบนิเวศทางทะเล กรณีปลาฉลามที่เขาเต่า

นายโสภณ ทองดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ลงพื้นที่ตรวจสอบและประชุมกำหนดมาตรการและเกิดเหตุ ร่วมกับผู้ว่าราชการ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายกเทศมนตรีหัวหิน หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจในพื้นที่ กรณีฉลามกัดนักท่องเที่ยวที่หาดเขาเต่า ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองหัวหิน ที่ประชุมมีมติให้ร่วมกันปฎิบัติ คือ

  1. ให้เทศบาลเมืองหัวหิน อ.หัวหิน ติดตั้งป้ายประกาศ ๓ ภาษา (ไทย อังกฤษและจีน) เตือนนักท่องเที่ยว และขอความร่วมมือโรงแรมและผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์ถึงบริเวณพื้นที่ชายฝั่งที่ปลาฉลามหัวบาตรเข้ามาหากินโดยทั่วกัน
  2. กรม ทช. เสนอรูปแบบการติดตั้งตาข่าย พร้อมทุ่นแนวเขตการเล่นน้ำ โดยให้เทศบาลเมืองหัวหิน เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการและค่าใช้จ่าย และให้จัดทำโครงการมาตรการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว เพื่อไม่รบกวนระบบนิเวศทางทะเลของสัตว์ทะเล
  3. ให้อำเภอและเทศบาล ติดประกาศห้ามลงเล่นน้ำทะเลบริเวณหาดทรายน้อย บ้านเขาเต่า อ.หัวหิน เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะติดตั้งตาข่าย พร้อมทุ่นแนวเขตเล่นน้ำทะเลจะแล้วเสร็จ
  4. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะออกคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชนที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรกู้ภัยทางทะเลฯ ให้จัดตั้งชุดปฎิบัติการเฝ้าระวังการเผชิญเหตุอุบัติภัยทางทะเลและอำนวยความสะดวกพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว จนกว่าจะติดตั้งตาข่ายพร้อมทุ่นแนวเขตแล้วเสร็จ โดย กรม ทช. จะจัดเจ้าหน้าที่พร้อมเรือมาสนับสนุน
  5. กรม ทช. จะได้จัดส่งทีมนักวิชาการ มาศึกษาจำนวน ชนิด ขนาด และพฤติกรรมในการดำรงชีพของฝูงปลาฉลามหัวบาตรกลุ่มนี้ เพื่อจะได้นำผลการศึกษาไปจัดทำแผนงาน ในการดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวที่ไม่กระทบกับระบบนิเวศของสัตว์ทะเลในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป
  6. ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการโรงแรมธุรกิจการท่องเที่ยว และร้านค้าร้านอาหาร ให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ ให้ทราบถึงข้อควรระวัง และการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

การประชุมเอเปค 2022

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นในประเทศไทย ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565 และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18–19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ แนวคิดหลักของการประชุมครั้งนี้คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ประเทศไทยได้นำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือบีซีจี เป็นหัวข้อหลักในการประชุมและจัดทำข้อเสนอไปยังผู้นำเขตเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เริ่มด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ในวันที่ 14–16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปคในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยมีหัวข้อสำคัญคือการผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก หรือ FTAAP และแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี ช่วงค่ำวันเดียวกัน รัฐบาลไทยได้จัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรส ที่หอประชุมกองทัพเรือ ในงานเลี้ยงรับรอง ได้มีการจัดอาหารค่ำในแนวคิด “ภูมิปัญญาอาหารไทยอย่างยั่งยืน” โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วประเทศ

Read More »

กองทัพเรือ จัดงานวัน “อาภากร” ประจำปี 2563

วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และหม่อมราชวงศ์จิยากร อาภากร เสสะเวช ร่วม เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย เนื่องในวันอาภากร ณ พระอนุสาวรีย์ฯ หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่และผู้แทน หน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เข้าร่วมในพิธี โดยภายหลังพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ กองทัพเรือ และราชสกุลอาภากร ได้จัดให้มีพิธีทักษิณานุประทานอุทิศถวาย ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมี ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี

Read More »

เปลี่ยนโฉมเรือขนสินค้ารุ่นดึกเป็นเรือ “ซูเปอร์ยอช์ท” 62 ล้านดอลล์

     โลกกำลังจะได้รู้จักกับเรือยอช์ทสุดหรูตระการตาที่สร้างจากอดีตเรือขนส่งสินค้ายักษ์ขนาด 270 ฟุต ผลงานการดีไซน์ใหม่หรูหราทำให้เรือ Kilkea สามารถเป็นพาหนะที่เดินทางรอบโลกได้พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกนานหลายสัปดาห์ ขณะนี้เรือกำลังสร้างอยู่ที่อู่ต่อเรือในประเทศเวียดนาม ซึ่งบริษัทนอร์เวย์เป็นเจ้าของ      สุดยอดเรือยอช์ทลำใหม่ของโลกมูลค่า 62 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ  2.1 พันล้านบาทนี้ถูกตั้งชื่อว่าคิลเคีย (Kilkea) เป็นเรือสำราญที่สร้างจากการนำเรือขนส่งสินค้าเก่าแก่ซึ่งมีรูปแบบเรือเรียกว่า Vard 1/08 มาปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ ด้วยความที่เรือลำนี้เคยถูกใช้ขนส่งสินค้าสู่แท่นเจาะน้ำมัน ทำให้เรือมีโครงสร้างห้องเก็บสินค้าขนาดใหญ่ และสามารถแล่นได้นานต่อเนื่องมากกว่า 30 วัน      เรือลำนี้มีห้องมากพอสำหรับผู้โดยสาร 36 คน ด้านหลังของเรือมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ โครงเหล็กตัวเรือมีความยาวมากกว่า 268 ฟุต สามารถแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 15.4 น็อต (knot)      ผู้รับหน้าที่ออกแบบปรับโฉมเรือหรูนี้คือบริษัท Bannenberg & Rowell Design ซึ่งใช้วิธีเพิ่มจำนวนชั้น ทำให้สามารถใส่สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งสระว่ายน้ำ รวมถึงสนามฟุตบอลได้อย่างยืดหยุ่น

Read More »