บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ส่งมอบระบบบริหารจัดการควบคุมการจราจรทางน้ำ ให้ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ

บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด โดยคุณจารุภา วัฒน์ประกายรัตน์ ผู้จัดการทั่วไป พร้อมทีมงาน ได้ส่งมอบระบบบริหารจัดการควบคุมการจราจรทางน้ำ Vessel Traffic Management (VTMS) ให้กับท่าเรือพาณิชย์ ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยมี นาวาเอกไพฑูรย์ ชีชะนะ รองผู้อำนวยการ การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นประธานตรวจรับ พร้อมคณะกรรมการ ณ อาคารพักผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ ท่าเทียบเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยโครงการนี้เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะเพิ่มศักยภาพการรองรับการให้บริการท่าเรือ แก่เรือรบทางทหารและเชิงพาณิชย์แก่เรือสินค้า เรือเฟอร์รี่ เป็นการขยายขีดความสามารถของท่าเรือ ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของรัฐบาล

ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ
ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ

เปลี่ยนโฉมเรือขนสินค้ารุ่นดึกเป็นเรือ “ซูเปอร์ยอช์ท” 62 ล้านดอลล์

     โลกกำลังจะได้รู้จักกับเรือยอช์ทสุดหรูตระการตาที่สร้างจากอดีตเรือขนส่งสินค้ายักษ์ขนาด 270 ฟุต ผลงานการดีไซน์ใหม่หรูหราทำให้เรือ Kilkea สามารถเป็นพาหนะที่เดินทางรอบโลกได้พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกนานหลายสัปดาห์ ขณะนี้เรือกำลังสร้างอยู่ที่อู่ต่อเรือในประเทศเวียดนาม ซึ่งบริษัทนอร์เวย์เป็นเจ้าของ      สุดยอดเรือยอช์ทลำใหม่ของโลกมูลค่า 62 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ  2.1 พันล้านบาทนี้ถูกตั้งชื่อว่าคิลเคีย (Kilkea) เป็นเรือสำราญที่สร้างจากการนำเรือขนส่งสินค้าเก่าแก่ซึ่งมีรูปแบบเรือเรียกว่า Vard 1/08 มาปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ ด้วยความที่เรือลำนี้เคยถูกใช้ขนส่งสินค้าสู่แท่นเจาะน้ำมัน ทำให้เรือมีโครงสร้างห้องเก็บสินค้าขนาดใหญ่ และสามารถแล่นได้นานต่อเนื่องมากกว่า 30 วัน      เรือลำนี้มีห้องมากพอสำหรับผู้โดยสาร 36 คน ด้านหลังของเรือมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ โครงเหล็กตัวเรือมีความยาวมากกว่า 268 ฟุต สามารถแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 15.4 น็อต (knot)      ผู้รับหน้าที่ออกแบบปรับโฉมเรือหรูนี้คือบริษัท Bannenberg & Rowell Design ซึ่งใช้วิธีเพิ่มจำนวนชั้น ทำให้สามารถใส่สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งสระว่ายน้ำ รวมถึงสนามฟุตบอลได้อย่างยืดหยุ่น

Read More »

การประชุมเอเปค 2022

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นในประเทศไทย ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565 และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18–19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ แนวคิดหลักของการประชุมครั้งนี้คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ประเทศไทยได้นำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือบีซีจี เป็นหัวข้อหลักในการประชุมและจัดทำข้อเสนอไปยังผู้นำเขตเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เริ่มด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ในวันที่ 14–16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปคในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยมีหัวข้อสำคัญคือการผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก หรือ FTAAP และแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี ช่วงค่ำวันเดียวกัน รัฐบาลไทยได้จัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรส ที่หอประชุมกองทัพเรือ ในงานเลี้ยงรับรอง ได้มีการจัดอาหารค่ำในแนวคิด “ภูมิปัญญาอาหารไทยอย่างยั่งยืน” โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วประเทศ

Read More »
Port In – Port Out PIPO

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)      พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO) ให้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ทั้ง 3 เขต รวมถึงหัวหน้าศูนย์ PIPO ในทุกพื้นที่ ณ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร      สำหรับนโยบายที่มอบให้แก่ศูนย์ PIPO ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ศูนย์ PIPO ที่ประกอบด้วยหน่วยงาน กรมประมง

Read More »