Cape Panwa Hotel Phuket Raceweek 2019

     การแข่งขันเรือใบนานาชาติ เคปพันวา โฮเทล ภูเก็ต เรซวีค จัดยิ่งใหญ่เป็นปีที่ 16 โดยการแข่งขันมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเคปพันวา ภูเก็ต
การแข่งขันแบ่งเป็น 6 ประเภท คือ ไออาซี​ซีโร่, ไออาซี 1, ไออาซี 2, ครูซซิ่ง, มัลติฮัลล์ เรซซิ่ง และไฟเออร์ฟลาย 850 (Firefly 850 Sports One Design) รวมเรือที่เข้าแข่งขันทั้งหมด
32 ลำ มีนักแล่นเรือใบกว่า 450 คน จากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก

     การแข่งขันในวันสุดท้ายมีกระแสลมกำลังดีในช่วงเช้าถึงบ่าย นับว่าเป็นการปิดฉากลงอย่างสวยงามของเคปพันวา โฮเทล ภูเก็ต เรซวีค 2019 แม้ว่าตลอดช่วงสัปดาห์ที่มีการแข่งขัน
นักแล่นใบจะต้องพบกับความท้าทายในเรื่องของสภาพอากาศที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องก็ตาม

67217761_2267225406665229_5853391596623495168_o
67138649_2267225646665205_2053347486814175232_o
67155502_2267226146665155_1764244931653664768_o

สำหรับพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะในแต่ละประเภท ได้รับเกียรติจาก พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ นายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันและมอบรางวัล

สรุปผลการแข่งขันดังนี้

  • สำหรับการแข่งขันประเภทไฟเออร์ไฟล์ 850 (Firefly 850) ทีม ทวิน ชาร์คส์ ได้ครองแชมป์นานถึง 7 ปีซ้อน
  • ทีมฟีนิกซ์ สัญชาติเดนมาร์ก สามารถรักษามาตรฐานของทีมคว้าแชมป์ติดต่อกันถึง 4 ปีซ้อน ส่วนในปีนี้ได้แชมป์ประเภทไออาซี ทู
  • ในส่วนของทีมฮอลลีวู้ด หนึ่งในทีมตัวเต็งก็สามารถครองแชมป์ติดต่อกัน 3 ปี ในปีนี้ได้แชมป์ประเภท ไออาซี ซีโร่

ประเภท ไออาซี ซีโร่  (IRC Zero Class)

  1. ทีม ฮอลลีวู้ด Team Hollywood ออสเตรเลีย
  2. อีสมารีน อิเมจิน East Marine Emagine ออสเตรเลีย
  3. อะควารี่ AquarII ออสเตรเลีย

ประเภท ไออาซี วัน  (IRC I Class)

  1. อีสมารีน อิเมจิน East Marine Emagine ออสเตรเลีย
  2. อะควารี่ AquarII ออสเตรเลีย
  3. เมกะซิป Megazip รัสเซีย

ประเภท ไออาซี ทู (IRC II Class)

  1. ฟีนิกซ์ Phoenix นีลส์ เดเกินคอลว์ Neils Degenkolw เดนมาร์ก
  2. ซิดนีย์ พรีเมียร์ คาร์ทติ้ง ปาร์ค Sydney Premier Karting Park ออสเตรเลีย
  3. ดราก้อน The Dragon ไซมอน โอลิเวีย Simon Oliver ออสเตรเลีย

ประเภทครูซซิ่ง โมโนฮัลล์ (Cruising Monohull Class)

  1. เวนเจอร์ Venture ออสเตรเลีย
  2. โบ เอสปรีส์ BeauX Esprits ออสเตรเลีย
  3. เลดี้ บั้บบลี่ Lady Bubbly ออสเตรเลีย

ประเภท เรือมัลติฮัลล์ เรซซิ่ง (Multihull Racing)

  1. แฟนทอม ไฟว์ Phantom V ออสเตรเลีย
  2. บอนซ่า Bonza อังกฤษ
  3. ฟุกาซี่ Fugazi ออสเตรเลีย

ประเภท ไฟเออร์ไฟล์ 850 (Firefly 850)

  1. ทวิน ชาร์คส์ Twin Sharks อังกฤษ
  2. วูดู Voodoo เยอรมัน
  3. เซิร์ฟ พาโทร Surf Patrol ออสเตรเลีย
67345059_2267225339998569_2603352211236847616_o
67355774_2267226283331808_5640395655789674496_n
67490057_2267225166665253_6097610841597673472_o

กองทัพเรือตั้ง facebook fanpage “เรือดำน้ำไทย Thai Submarines”

สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างเพจนี้ เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องเรือดำน้ำแก่สาธารณชนผู้สนใจ โดยการจัดตั้งสื่อกลางในรูปแบบ Social Media เนื่องจากกองทัพเรือไม่เคยจัดตั้งสื่อกลางใน Social Media เพื่อการค้นคว้าหาความรู้เรื่องเรือดำน้ำขึ้นมาโดยเฉพาะมาก่อน กองทัพเรือจึงได้เข้าใจดีว่าว่า ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับเรือดำน้ำนั้น มีองค์ประกอบหลายด้านที่มากกว่าการเป็น “ยุทโธปกรณ์” และมีเนื้อหาสาระ ความรู้ ที่สาธารณชนผู้สนใจทั่วไปสามารถรับรู้ร่วมกันได้ ประกอบกับหนึ่งในบทบาทสำคัญของ กองทัพเรือ คือเป็นหน่วยงานที่มีส่วนในการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้        สำหรับ หัวข้อที่จะนำเสนอใน Facebook Fanpage “เรือดำน้ำไทย Thai Submarines” ที่สำคัญที่จะมี ขึ้น ได้แก่  – ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรือดำน้ำ  – ประวัติศาสตร์เรือดำน้ำ ทั้งของสากลและของไทย  – สารคดีเกี่ยวกับเรือดำน้ำ  – ข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับเรือดำน้ำทั้งในและต่างประเทศ  – บทความทั่วไป บทวิเคราะห์ บทความทางวิชาการ  – ข้อถามตอบ/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  – นำเสนอกิจกรรมที่เกิดขึ้น

Read More »

ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบรางวัลเกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัย ของกองทัพเรือ ประจำปี 2563

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานการมอบรางวัลในพิธียกย่องเกียรติคุณ นักวิจัยของกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน สำหรับรางวัลเกียรติคุณมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจ รวมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของกองทัพเรือ ผู้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและกองทัพ ทำให้หน่วยสามารถดำรงสภาพยุทโธปกรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วย และช่วยลดงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ ทำให้กองทัพเรือสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งในพิธีได้จัดให้มีการมอบโล่ ใบประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลให้กับนายทหารโครงการและหัวหน้านักประดิษฐ์ โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้ 1.ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร รางวัลดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ผลงานโครงการวิจัยและพัฒนา ระบบแสดงแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Chart System) มี นาวาเอก ฤทธิ์เดช เกตุทอง เป็นนายทหารโครงการ 2. ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ รางวัลชมเชย จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ เครื่องทดสอบการกัดกร่อนร่วมกับความล้า

Read More »

กรมเจ้าท่า เปิดตัวตัว “เรือท่องเที่ยวไฟฟ้าทางทะเลลำแรกของไทย”

พร้อมผลักดันการท่องเที่ยวสีเขียว เตรียมพัฒนาเรือพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมเจ้าท่าถือโอกาสวันพิเศษ วันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า ครบรอบ 161 ปี เปิดตัวเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าทางทะเลในกลุ่มผลิตภัณฑ์เรือท่องเที่ยวไฟฟ้า ‘บ้านปูเน็กซ์ อีเฟอร์รี่’ (BanpuNext e-Ferry)  ซึ่งกรมเจ้าท่าจดทะเบียนเป็นเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าทางทะเลลำแรกของประเทศไทย ชูนวัตกรรมเรือพลังงานสะอาดมาตรฐานสากล โดยผ่านมาตรฐานการรองรับตามข้อบังคับของกรมเจ้าท่า ทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ประจำเรือ และระบบความปลอดภัยต่างๆ ล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ศักยภาพสูง ตัวเรือมีขนาดความยาว 20 เมตร ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ ด้วยความเร็วสูงสุดกว่า 17 นอต โดยออกแบบวางจุดแบตเตอรี่ให้อยู่กลางลำเรือ เพื่อรองรับการสั่นสะเทือนจากเหตุการณ์ต่างๆ สามมารถรองรับนักท่องเที่ยวได้สูงสุด 90 คน คาดการณ์ว่าหากนำเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำนี้ไปให้บริการนักท่องเที่ยวตามเส้นทางที่กำหนดเป็นระยะเวลา 1 ปี จะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงได้ถึง 26,250 ลิตร โดยจะนำร่องในเส้นทางท่องเที่ยวภูเก็ต – อ่าวพังงาเป็นที่แรก ตั้งเป้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการท่องเที่ยวของคนยุคใหม่ที่ สะอาด ปลอดภัย รักษ์โลก และสนับสนุนอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานระบบขนส่งทางน้ำ

Read More »