การประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล.ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2564

วันที่ 14 ธันวาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ และรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในฐานะประธานกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) มอบหมายให้ พลเรือเอกธีรกุล กาญจนะ เสนาธิการทหารเรือ/เลขาธิการ ศรชล.เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล.ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2564 ณ โรงแรม อวานี พลัส ริเวอร์ไซด์ ถนนเจริญนคร เขตธนบุรี กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร ศรชล. ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานระดับอธิบดีรวม 26 คน และผู้บังคับบัญชาของ ศรชล.ทั้งในส่วนกลางและส่วนของ ศรชล.ภาค  โดยภายหลังการประชุม พลเรือเอก ชาติชาย  ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งติดภารกิจด่วนได้เดินทางมาร่วมถ่ายภาพและเป็นสักขีพยานกับ คณะกรรมการบริหาร ศรชล. ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการและผู้แทน ศรชล.ที่เข้าร่วมประชุม

การประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล.ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการบริหาร ศรชล.ได้รับทราบ ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของ ศรชล.ในปีงบประมาณ 2563 ความก้าวหน้าในการจัดทำอนุบัญญัติ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2564 ของ ศรชล. การดำเนินการเรื่องการจัดอัตรากำลังแทนของ ศรชล. รวมทั้งพิจารณาการแก้ไขข้อบังคับคณะกรรมการบริหาร ศรชล. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล

คณะกรรมการบริหาร ศรชล.เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน ศรชล.ที่ยกระดับเป็นศูนย์อำนวยการตาม พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 ตั้งแต่ 13 มี.ค.62 มีหน้าที่ พิจารณาให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานในหน้าที่และอำนาจของ ศรชล. รวมทั้งวางระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของ ศรชล.

การจัดประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล.ในครั้งนี้ได้จัดให้มีนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของ
ศรชล. ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี การปฏิบัติของ ศรชล.
ในห้วงการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 เช่น การสกัดกั้นโรค COVID – 19 ทางทะเลที่จังหวัดระนอง การบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับเรือยอช์ท และการใช้อากาศยานไร้คนขับหรือ UAV ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เป็นต้น

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 50 ปี

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 50 ปี โดยนายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการ คณะกรรมการ กนอ. พร้อมด้วย รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผวก.กนอ. ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน กนอ. ให้การต้อนรับ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาสเป็นประธานงานเฉลิมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กนอ. ครบรอบ 50 ปี พร้อมทั้งแสดงปาฐกถาพิเศษในงาน โดยมี ผู้เข้าร่วมงานทั้งจาก บริษัทร่วมทุน บริษัทผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม อดีตผู้บริหาร กนอ. พันธมิตรทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน กนอ. “50th Anniversary of IEAT: Industrial Collaboration for Sustainable

Read More »

เรือด่วนเจ้าพระยาใหม่ ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น

     โดยเรือแบบใหม่นี้เป็นเรือแบบ Catamaran ท้องเรือจะโปร่ง วัสดุตัวเรือทำด้วยอะลูมิเนียม มีการออกแบบที่ก่อให้เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงาน มีความสะดวกสบายและทันสมัย มีความปลอดภัย มีระบบติดตามเรือ (GPS) และระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเบื้องต้น บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาจะสร้างเรือจำนวน 6 ลำ เพื่อให้บริการตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้า ถึงท่าเรือสาทร ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจำนวน 10 ท่าเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือมีระบบขนส่งเชื่อมต่อทางราง เช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ท่าเรือบางโพ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ท่าเรือราชินี (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) และท่าเรือสาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งระยะเวลาเรือโดยสารรูปแบบใหม่จะให้บริการเดินเรือตั้งแต่เวลา 06.30 – 19.00 น. จำนวน 44 เที่ยว/วัน ความถี่ในการเดินเรือประมาณ 20-30 นาที /เที่ยว ซึ่งสามารถประหยัดเวลาเดินทางจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง จากปกติใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในเส้นทางปกติภายในปี

Read More »

พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่2

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี      ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร กินน้ำลึก 3.70 เมตร ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน ความเร็วสูงสุด

Read More »