ONE MAN AND THE SEA กิจกรรมว่ายน้ำข้ามทะเลจากดอนสัก ไปเกาะสมุย

      เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 63 ท่าเรือเอนกประสงค์แหลมทวดดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อม นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิด และปล่อยตัว นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่) นักร้องนักแสดง ในฐานะทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ขององค์การสหประชาชาติเพื่อมหาสมุทร(UN Ocean Conference) พร้อมทีมว่ายน้ำ 7 คน ออกปฎิบัติภารกิจโครงการ “1 คนว่าย หลายคนช่วย ” (One Man & The Sea ) ว่ายน้ำตัวเปล่าข้าม 12 เกาะ จากฝั่ง อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ไป ยัง อ.เกาะสมุย ระยะทาง 82 กิโลเมตร ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – วันที่ 5 เมษายน 2563 ระยะเวลา 18 วัน เพื่อปลุกจิตสำนึกคนไทยให้ใส่ใจเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในทะเล ลดการใช้พลาสติกโดยเฉพาะขยะทะเล ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล และระดมทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ ศูนย์รักษาพันธุ์สัตว์ทะเลหายากของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B เสริมประสิทธิภาพการทำงานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B – มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล– เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง– สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน– มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด– สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More »

เรือด่วนเจ้าพระยาใหม่ ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น

     โดยเรือแบบใหม่นี้เป็นเรือแบบ Catamaran ท้องเรือจะโปร่ง วัสดุตัวเรือทำด้วยอะลูมิเนียม มีการออกแบบที่ก่อให้เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงาน มีความสะดวกสบายและทันสมัย มีความปลอดภัย มีระบบติดตามเรือ (GPS) และระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเบื้องต้น บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาจะสร้างเรือจำนวน 6 ลำ เพื่อให้บริการตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้า ถึงท่าเรือสาทร ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจำนวน 10 ท่าเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือมีระบบขนส่งเชื่อมต่อทางราง เช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ท่าเรือบางโพ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ท่าเรือราชินี (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) และท่าเรือสาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งระยะเวลาเรือโดยสารรูปแบบใหม่จะให้บริการเดินเรือตั้งแต่เวลา 06.30 – 19.00 น. จำนวน 44 เที่ยว/วัน ความถี่ในการเดินเรือประมาณ 20-30 นาที /เที่ยว ซึ่งสามารถประหยัดเวลาเดินทางจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง จากปกติใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในเส้นทางปกติภายในปี

Read More »

มารีนไทย กรุ๊ป ร่วมพิธีแสดงเจตจำนงในการลงนาม

     วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม 2563 บริษัท มารีนไทย กรุ๊ป จำกัด ร่วมพิธีแสดงเจตจำนงในการลงนามในสัญญาจ้างบริหารจัดการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะเวลา 10 ปี (ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2573) มูลค่า 910,000,000 บาท โดย นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นายไชยากร วัฒน์ประกายรัตน์ กรรมการบริษัท มารีนไทย กรุ๊ป จำกัด ในการนี้ นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พลเรือเอก วีระยุทธ อุตตะโมท ประธานบริษัท มารีนไทย กรุ๊ป จำกัด

Read More »